หลักเกณฑ์การบรรจุและแต่งตั้ง
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล – องค์การบริหารส่วนตำบลโชกเหนือ
เพื่อให้การบริหารงานภายในขององค์การบริหารส่วนตำบลโชกเหนือ ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับบริบทการปฏิบัติงานในปัจจุบันขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านต้อง และเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดสุรินทร์ เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2545 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง(ฉบับที่ 65) พ.ศ.2563
หมวด ๕
การบรรจุและแต่งตั้ง
ข้อ ๑๐๙ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นพนักงานส่วนตำบล เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในองค์การบริหารส่วนตำบล ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้น หรือตำแหน่งอื่นที่เกี่ยวข้องและเกื้อกูลกัน ซึ่งกำหนดคุณวุฒิตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตรงกันกับคุณวุฒิที่ผู้นั้นนำมาสมัครสอบแข่งขัน
การร้องขอให้ดำเนินการสอบแข่งขัน การดำเนินการสอบแข่งขัน การขึ้นบัญชีกาสอบแข่งขัน การใช้บัญชีการสอบแข่งขัน การขอใช้บัญชีและการบรรจุและแต่งตั้งจากบัญชี ผู้สอบแข่งขันได้ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบลกำหนด
มิให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับในกรณีการบรรจุและแต่งตั้งตามข้อ ๑๑๑ ข้อ ๑๑๖ ข้อ 11๗ ข้อ ๑๒๓ ข้อ ๑๒๙ และข้อ ๑๓๓
ข้อ ๑๑๐ ผู้สอบแข่งขันได้ ซึ่งอยู่ในลำดับที่ที่จะได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดถ้าปรากฏว่าขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม โดยไม่ได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในหมวด ๑ ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องหามเบื้องต้น หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง โดยไม่ได้รับอนุมัติยกเว้นจากคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต.) อยู่ก่อนหรือภายหลังการสอบแข่งขันจะบรรจุและแต่งตั้งให้ตำรงตำแหน่งนั้นไม่ได้
ข้อ ๑๑๑ ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อประโยชน์แก่ราชการ องค์การบริหารส่วนตำบลโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล(ก.อบต. จังหวัด) อาจบรรจุบุคคลที่มีความรู้ความสมารถ และความชำนาญสูงเข้ารับราชการในฐานะผู้ชำนาญการในองค์การบริหารส่วนตำบล
ข้อ ๑๑๒ องค์การบริหารส่วนตำบลที่จะเสนอขอให้คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต. จังหวัด) พิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในฐานะผู้ชำนาญการจะต้องมีลักษณะต่อไปนี้
(๑) ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบล มีความจำเป็นที่จะต้องใช้บุคลากรผู้ที่มีความรู้ ความสามารถละความชำนาญงานในระดับผู้ชำนาญการ หรือผู้ที่มีความรู้ความสามารถและความชำนาญงานเทียบได้ในระดับเดียวกัน
(๒)มีการกำหนดตำแหน่งผู้ชำนาญการ เพื่อรองรับลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบตาม (๑)โดยพิจารณากำหนตระดับตำแหน่งให้เหมะสมกับความยากและคุณภาพของงานในตำแหน่งนั้น เป็นตำแหน่งระดับ ๖ ระดับ ๗หรือระดับ ๘
ข้อ ๑๑๓ กรณีองค์การบริหารส่วนตำบล มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์แก่ราชการที่จะต้องบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในฐานะผู้ชำนาญการในองค์การบริหารส่วนตำบล ให้เสนอเหตุผลและความจำเป็น คำชี้แจง ประวัติและผลงานของผู้ที่จะบรรจุเข้ารับราชการ ซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและความชำนาญงานสูงในระดับผู้ชำนาญการแล้วแต่กรณี และมีความเหมาะสมกับลักษณะงานในตำแหน่งที่ขอบรรจุและแต่ตั้ง โดยพิจารณาจากคุณวุฒิการศึกษา ประวัติการทำงาน และผลงานที่ได้ปฏิบัติมาทตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้ ให้คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต. จังหวัด) พิจารณาในเหตุผลคำชี้แจงตามวรรคหนึ่ง ให้แสดงรายละเอียด ดังนี้
(๑) บุคคลที่จะบรรจุเข้ารับราชการ คุณวุฒิ ตำแหน่งที่จะบรรจุและระดับตำแหน่ง
(๒) รายละเอียดหน้าที่ความรับผิดชอบ และปริมาณงานของตำแหน่งที่จะบรรจุ
(๓) เหตุผลความจำเป็นในการขอบรรจุบุคคลผู้นี้
(๔) ประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับจากการบรรจุบุคคลผู้นี้
ข้อ ๑๑๔ กรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลขอบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ตามข้อ ๑๑๓ แต่ยังมิได้กำหนดตำแหน่งผู้ชำนาญการตามที่กำหนดในข้อ ๑1๒ (๒) ให้องค์การบริหารส่วนตำบลเสนอขอกำหนดตำแหน่งผู้ชำนาญการขึ้นใหม่หรือปรับเกลี่ยจากตำแหน่งอื่น ให้คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต.จังหวัด) พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน ทั้งนี้ให้ดำเนินการตามที่กำหนดในหมวด ๒ ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งหรือการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งพนักงานส่วนตำบลแล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๑๕ เมื่อคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต จังหวัด) ได้เห็นชอบการบรรจุบุคคลใดเข้ารับราชการในฐานะผู้ชำนาญการ ในตำแหน่งใดระดับใดแล้วให้กำหนดอันดับเงินเดือนและขั้นเงินเดือนที่จะให้ได้รับ โดยขั้นเงินเดือนที่จะให้ได้รับดังกล่าวให้ได้รับในขั้นที่ไม่ต่ำกว่าจุดกึ่งกลางระหว่างขั้นสูง และขั้นต่ำของอันดับเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับ
ข้อ ๑๑๖ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษที่คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต.จังหวัด) เห็นว่าไม่จำเป็นต้องดำเนินการสอบแข่งขัน อาจคัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งได้ในกรณีดังนี้
(๑) การบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับทุนรัฐบาล ทุนเล่าเรียนหลวง หรือทุนขององค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อศึกษาวิชาในประเทศหรือต่างประเทศ
(๒) การบรรจุและแต่งตั้งผู้สำเร็จการศึกษาในคุณวุฒิที่คณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต) กำหนดให้คัดเลือก เพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นกรณีพิเศษ
(๓) การบรรจุและแต่งตั้งผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรที่คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล(ก.อบต.จังหวัด) อนุมัติให้ส่วนราชการใดจัดให้มีการศึกษาขึ้น เพื่อเข้ารับราชการในองค์การบริหารส่วนตำบลโดยเฉพาะ
(๓) ในกรณีที่ผู้กลับจากราชการทหารมีเวลารับราชการทหารตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไปเศษของปีที่ไปรับราชการทหารที่เหลือจากการพิจารณาตามเกณฑ์ (๒) แล้วหากมีระยะเวลาเหลือครบ ๖ เดือน ให้สั่งบรรจุผู้นั้นโดยให้ได้รับเงินเดือนในอันดับเดิมและขั้นที่สูงกว่าเดิมเพิ่มจาก (๒) ได้อีกไม่เกินครึ่งขั้น สำหรับระยะเวลาที่คำนวณได้รับ ๖ เดือน และหายังมีเศษที่เหลือจาการคำนวณครั้งสุดท้ายแต่ไม่ครบ ๖ เดือน ให้พิจารณาคำนวณตามเกณฑ์ (๑) วรรคสอง
ทั้งนี้ การให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเดิม ตาม (๑) (๒) หรือ (๗) นั้น จะต้องไม่ได้รับประโยชน์มากกว่าผู้ที่มิได้ออกจากราชการไปรับราชการทหาร และต้องไม่เกินขั้นสูงของอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่ง ระดับเดิม
ข้อ ๑๒๑ ในการบรรจุผู้ไปรับราชการทหารกลับเข้ารับราชการ หากผู้ใดไม่เคยได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสายงานที่เริ่มตันจากระดับ ๓ ขึ้นไป ซึ่งต้องใช้วุฒิปริญญาตรี หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ขึ้นไปเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งมาก่อน หากจะแต่ตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสายงานดังกล่าว ผู้นั้นจะต้องอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดในหมวด ๖ ว่าด้วยการย้ายพนักงานส่วนตำบลด้วย
ข้อ ๑๒๒ พนักงานส่วนตำบลที่ออกจากราชการไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับหากพ้นจากราชการทหารโดยไม่มีความเสียหาย และประสงค์จะเข้ารับราชการเป็นพนักงานส่วนตำบลในองค์การบริหารส่วนตำบลเดิม ภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปด
สิบวันนับแต่วันพันจากราชการทหาร ให้นำความที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๑๙ และข้อ ๑๒๐ มาใช้บังคับแก่พนักงานส่วนตำบลที่กล่าวถึงโดยอนุโลม
ข้อ ๑๒๓ พนักงานส่วนตำบลผู้ใดได้รับอนุติจากคณะรัฐมนตรีให้ออกจากราชการไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญราชการส่วนท้องถิ่น ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการภายในกำหนด เวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติแต่ไม่เกินสี่ปีนับแต่วันไปปฏิบัติงานดังกล่าว ให้สั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในองค์การบริหารส่วนตำบลได้
ข้อ ๑๒๔ เมื่อคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้พนักงานส่วนตำบลผู้ใดออกจากราชการ ไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น ให้พิจารณากำหนดตำแหน่งในระดับเดียวกันสำหรับบรรจุผู้นั้นกลับเข้ารับราชการภายในกำหนดเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ แต่ไม่เกินสี่ปีนับแต่วันไปปฏิบัติงานดังกล่าว
ข้อ ๑๒๕ ผู้ประสงค์จะขอกลับข้ารับราชการกรณีได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ให้ออกจากราชการไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น ในองค์การบริหารส่วนตำบลเดิม จะต้องยื่นคำขอบรรจุกลับพร้อมหนังสือรับรองประวัติการทำงานตามแบบที่กำหนดก่อนวันสิ้นสุดกำหนดเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุติให้ไปปฏิบัติงานใด ๆ ไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน
ข้อ ๑๒๖ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลตรวจสอบเอกสารและประวัติการทำงานตามข้อ ๑๒๕หากเห็นว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องและผู้นั้นมีประวัติในการทำงานที่ไปปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีโดยไม่มีความเสียหายและยื่นคำขอบรรจุกลับภายในกำหนด ให้ประธานกรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลสั่งบรรจุผู้นั้นกลับเข้ารับราชการเป็นพนักงานส่วนตำบล และแต่ตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับเดิม โดยให้ได้รับเงินเดือนดังนี้
(๑) ในกรณีที่ผู้กลับจากการไปปฏิบัติงานตามมติคณะรัฐมนตรีมีเวลาปฏิบัติงานดังกล่าวตั้งแต่ ๖ เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง ๑ ปี ให้สั่งบรรจุผู้นั้นกลับข้ารับราชการเป็นพนักงานส่วนตำบล โดยให้รับเงินเดือนในอันดับเดิมและในขั้นที่สูงกว่าเดิมได้ไม่เกินครึ่งขั้น
ถ้ามีเศษของ ๖ เดือนที่ไปปฏิบัติงานเมื่อนำเศษที่เหลือไปรวมกับระยะเวลาในการปฏิบัติงานของครึ่งปีที่แล้วมาของผู้นั้นก่อนออกไปปฏิบัติงานแล้วได้ครบ ๖ เดือนก็ให้สั่งบรรจุผู้นั้นกลับเข้ารับราชการโดยให้ได้รับเงินเดือนในอันดับเดิมและในขั้นที่สูงกว่าเดิมได้อีกไม่เกินครึ่งขั้น
(๒) ในกรณีที่ผู้กลับจากการไปปฏิบัติงานตามมติคณะรัฐมนตรี มีเวลาปฏิบัติงานดังกล่าวครบ ๑ ปี ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุผู้นั้นกลับเข้ารับราชการเป็นพนักงานส่วนตำบล โดยให้ได้รับเงินเดือนในอันดับเดิมและในขั้นที่สูงกว่าเดิมได้ไม่เกินปีละหนึ่งขั้น
(๓) ในกรณีที่ผู้กลับจากการไปปฏิบัติงานตามมติคณะรัฐมนตรีมีเวลาปฏิบัติงานดังกล่าวตั้งแต่ ๑ ปี ขึ้นไปเศษของปีที่ปฏิบัติงานที่เหลือจาการพิจารณาตามเกณฑ์ข้อ (๒) แล้วหากมีระยะเวลาเหลือครบ ๖ เดือน ให้สั่งบรรจุผู้นั้นโดยให้ได้รับเงินเดือน ในอันดับเดิมและในขั้นที่สูงกว่าเดิมเพิ่มจากข้อ (๒) ได้อีกไม่เกินครึ่งขั้นสำหรับระยะเวลาที่คำนวณได้ครบ ๖ เดือน และหากยังมีเศษที่เหลือจากการคำนวณครั้งสุดท้ายแต่ไม่ครบ ๖ เดือน ให้พิจารณาคำนวณตามเกณฑ์ ข้อ (๑) วรรคสอง
ทั้งนี้ การให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเดิม ตามข้อ (๑) ข้อ (๒) และข้อ (๓) นั้น จะต้องไม่ได้รับ
ประโยชน์มากกว่าผู้ที่มิได้ออกจกราชการไปปฏิบัติงานตามมติคณะรัฐมนตรี และต้องไม่เกินขั้นสูงของอันดับ
เงินเดือนสำหรับตำแหน่งระดับเดิม
ข้อ ๑๒๗ ในการบรรจุผู้ไปปฏิบัติงานตามมติคณะรัฐมนตรี กลับเข้ารับราชการหากผู้ใดไม่เคยได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสายงานที่เริ่มตันจากระดับ ๓ ขึ้นไป ซึ่งต้องใช้วุฒิปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ขึ้นไปเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งมาก่อน หากจะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสายงานดังกล่าว ผู้นั้นจะต้องอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดในหมวด ๖ ว่าด้วยการย้ายพนักงานส่วนตำบลด้วย
ข้อ ๑๒๘ พนักงานส่วนตำบลที่ออกจากราชการไปปฏิบัติงานตามมติคณะรัฐมนตรีก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับหากออกจากงานที่ไปปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีโดยไม่มีความเสียหาย และประสงค์จะเข้ารับราชการเป็นพนักงานส่วนตำบลในองค์การบริหารส่วนตำบลเดิมภายในกำหนดเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ แต่ไม่เกินสี่ปีนับแต่วันไปฏิบัติงานดังกล่าวให้นำความที่กำหนดไว้ในข้อ 12๕ และข้อ 126 มาใช้บังคับแก่ข้าราชการ ที่กล่าวถึงโดยอนุโลม
ข้อ ๑๒๙ พนักงานส่วนตำบลผู้ใดออกจากราชการไปแล้ว และไม่ใช่เป็นกรณีออกจากราชการไประหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ถ้าสมัครเข้ารับราชการและองค์การบริหารส่วนตำบลต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการให้ผู้สมัครกลับเข้ารับรากาต้องยื่นคำขอตามแบบ และเอกสารประกอบ ดังนี้
(๑) ใบรับรองแพทย์ ซึ่งรับรองไว้ไม่เกิน ๖๐ วัน นับแต่วันที่ออกใบรับรองถึงวันที่ยื่นขอกลับเข้ารับราชการ
(๒) สำเนาทะเบียนประวัติข้าราชการ
(๓) หนังสือรับรองความรู้ ความสามารถ และความประพฤติของผู้บังคับบัญชาเติมซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป
(๔) สำเนาปริญญาบัตร หรือประกาศนียบัตรที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่จะบรรจุ
(๕) สำเนาทะเบียนบ้าน
(๖) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
(๗) สำเนาหนังสือสำคัญการสมรส หลักฐานอนุญาตให้เปลี่ยนซื่อตัว ชื่อสกุล หรือหนังสือรับรองว่าเป็นบุคคลคนเดียวกัน (ถ้ามี)
(๘) สำเนาคำสั่งอนุญาตให้ออกจากราชการ
ข้อ ๑๓๐ ให้นายกองค์กรบริหารส่วนตำบลตรวจสอบเอกสารตามข้อ 1๒๙ และประวัติการรับราชการและการทำงานทุกแห่งของผู้สมัคร และให้สอบถามไปยังส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้รายละเอียดข้อเท็จจริงมากที่สุดมาประกอบการพิจารณา
ข้อ ๑๓๑การพิจารณาเพื่อบรรจุผู้ที่ออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(๑) ผู้สมัครกลับเข้ารับราชการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม หรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับพนักงานส่วนตำบล
(๒) ผู้สมัครกลับเข้ารับราชการต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ที่จะบรรจุและแต่งตั้งตามที่คณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต.) กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งหรือได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต.)
(๓) กรณีบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่คณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต.) กำหนดให้เป็นตำแหน่งที่มีระดับควบในสายงานใด ต้องไม่มีผู้สอบแข่งขันได้หรือผู้สอบคัดเลือกได้ในตำแหน่งระดับใดระดับหนึ่งที่เป็นระดับควบในสายงานนั้นขึ้นบัญชีรอการบรรจุหรือเลื่อนระดับตำแหน่งอยู่ และกรณีบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่คณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต.) มิได้กำหนดให้เป็นตำแหน่งที่มีระดับควบต้องไม่มีผู้สอบคัดเลือกได้ในตำแหน่งนั้นขึ้นบัญชีรอการเลื่อนระดับตำแหน่งอยู่ เว้นแต่ผู้ที่จะกลับเข้ารับราชการนั้น เป็นผู้ที่ออกจกราชการไปดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือลาออกจากราชการเพื่อติดตามคู่สมรสไปรับราชการ ณ ต่างประเทศ หรือเป็นผู้ที่ออกจากราชการไปเพราะถูกยุบเลิกตำแหน่ง
ข้อ ๑๓๒ การบรรจุและแต่งตั้งผู้สมัครกลับเข้ารับราชการตามที่ประกาศนี้ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบล โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต.จังหวัด) สั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิม และให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าชั้นที่เคยได้รับอยู่เดิมก่อนออกจากราชการ
ข้อ ๑๓๓ การบรรจุและแต่งตั้งจากราชการประเภทอื่น หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่น ผู้ขอโอนมาเป็นพนักงานส่วนตำบลให้เป็นไปตามที่กำหนดในหมวด ๘
ข้อ ๑๓๔ ผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพนักงานส่วนตำบลตำแหน่งใด ต้องมีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.อบต.กำหนด
ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิใดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งให้หมายถึง ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิใดที่ ก.พ. ก.ค. หรือ ก.อบต.รับรอง
กรณีมีเหตุผลความจำเป็น ก.อบต.อาจอนุมัติให้แต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งก็ได้
ข้อ ๑๓๕ ผู้ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นพนักงานส่วนตำบลและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในองค์กรบริหารส่วนตำบล ภายหลังปรากฏว่าขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามเบื้องต้น โดยไม่ได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตมที่กำหนดในหมวด 1 ว่าด้วย คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้นของพนักงานส่วนตำบลหรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นอยู่ก่อนก็ดี หรือมีกรณีต้องห้ามอยู่ก่อนและภายหลังเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเนื่องจากรณีต้องห้ามนั้นก็ดี หรือกรณีบรรจุและแต่งตั้งจากบัญชีผู้สอบแข็งขันได้ในตำแหน่งอื่นที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกันก็ดี ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการโดยพลันโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่จะได้รับ หรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้น และการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้ว ให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น
ข้อ ๑๓๖ การบรรจุและแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลให้ดำรงตำแหน่งที่คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต.จังหวัด) ยังมิได้กำหนดตำแหน่งจะกระทำมิได้
ข้อ ๑๓๗ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นพนักงานส่วนตำบล และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
ในองค์การบริหารส่วนตำบล ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งโดยความเห็นขอบของคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต.จังหวัด)
ข้อ ๑๓๘ ผู้ใดได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นพนักงานส่วนตำบล ให้มีการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของพนักงานส่วนตำบล โดยให้มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๖ เดือน แต่ไม่เกิน ๙ เดือน และการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต้องดำเนินการในรูปคณะกรรมการ ในกรณีที่ไม่ผ่านการประเมินและมีความเห็นว่าไม่ควรให้รับราชการต่อไป ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต.จังหวัด) ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจาราชการตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นพนักงานส่วนตำบล แต่ทั้งนี้ไม่กระทบระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใด ที่ได้รับจากราชการในระหว่างที่ผู้นั้นอยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ข้อ ๑๓๙ ให้ผู้ได้รับการบรรจุจากผู้สอบแข่งขันได้ หรือผู้ได้รับคัดเลือกในกรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่จำเป็นต้องสอบแข่งขันเข้ารับราชการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพนักงานส่วนตำบล และข้าราชการประเภทอื่น หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติงานซึ่งโอนมาบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานส่วนตำบล ต้องทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่ง ที่ได้รับแต่งตั้ง
ข้อ ๑๔๐ ภายใต้บังคับข้อ ๑4๙ (๒) ให้ผู้ได้รับบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานส่วนตำบล ตามข้อ ๑๓๙ ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเวลาหกเดือนนับแต่วันเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นต้นไป ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาดำเนินการในเรื่องการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างจริงจังมีความเที่ยงธรรมและได้มาตรฐาน ในอันที่จะให้การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นกระบวนการเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ ๑๔๑ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลกำหนดรายการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ตามความเหมาะสม แต่อย่างน้อยต้องประกอบตัวความรู้ที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ ความสามารถในการปฏิบัติงาน ปริมาณงาน คุณภาพของงาน ความอุตสาหะ ความรับผิดชอบ ความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น ความสนใจที่จะพัฒนาตนอง คุณธรรม การปฏิบัติตนตามกรอบของจรรยาบรรณและการรักษาวินัย
วิธีการประเมินและมาตรฐานหรือเกณฑ์การประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำหนด แล้วรายงานให้คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล(ก.อบต.จังหวัด) ทราบ
ข้อ ๑๔๒ ให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีหน้ที่ดูแลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้ผู้มีหน้าที่ดูแลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ มอบหมายงานให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการปฏิบัติ และแจ้งให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการทราบอย่างชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติงาน การประพฤติตน รายการประเมิน วิธีการประเมิน และมาตรฐานหรือเกณฑ์การประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ข้อ ๑๔๓ ให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการทำรายงานการปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนเสนอผู้มีหน้าที่ดูแลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามแบบ และวิธีการที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำหนด
ข้อ ๑๔๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการอีกจำนวนสองคน ซึ่งอย่างน้อยต้องแต่งตั้งจากผู้มีหน้าที่ดูแล การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการหนึ่งคน พนักงานส่วนตำบลผู้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการอีกหนึ่งคน
ข้อ ๑๔๕ ให้คณะกรรมการทำหน้าที่ประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของผู้คลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามรายการประเมิน วิธีการประเมิน และมาตรฐานหรือเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ในข้อ ๑๔๑ ทำการประเมินสองครั้ง โดยประเมินครั้งแรกเมื่อทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมาแล้วเป็นเวลาสามเดือน และประเมินครั้งที่สองเมื่อทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการครบหกเดือน เว้นแต่คณะกรรมการไม่อาจประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในแต่ละครั้งได้อย่างชัดแจ้ง เนื่องจากผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ลาคลอดบุตร ลาไปซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานานลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือในขณะเดินทางไปหรือกลับจากปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล คณะกรรมการจะประเมินผลรวมเมื่อทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการครบหกเดือนแล้วก็ได้
ในกรณีที่มีการขยายระยะเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามข้อ ๑๔๙ (๒) เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ขยายแล้วให้ประเมินอีกครั้งหนึ่ง
ข้อ ๑๔๖ ผลการประเมินของคณะกรรมการให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก และในกรณีมีกรรมการที่ไม่เห็นด้วยอาจทำความเห็นแย้งรวมไว้ก็ได้
ข้อ ๑๔๗ เมื่อคณะกรรมการได้ดำเนินการตามข้อ 1๔๕ แล้ว ให้ประธานกรรมการประเมินผลฯ รายงานผลการประเมินต่อนายกองค์การริหารส่วนตำบล ตามแบบรายงานท้ายประกาศนี้
(๑) ในกรณีที่ผลการประเมินไม่ต่ำกว่าเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ใน ข้อ 141 ให้รายงานเมื่อทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการครบหกเดือนแล้ว หรือเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่ขยายตามข้อ ๑๔๙ (๒) แล้ว
(๒) ในกรณีที่ผลการประมินต่ำกว่าเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๘๑ ให้รายงานเมื่อเสร็จสิ้นการประเมินแต่ละครั้ง
ข้อ ๑๔๘ เมื่อนายกองค์การบริหารส่วนตำบลได้รับรายงานตามข้อ ๙๔๗ (๑) แล้ว ให้ประกาศว่าผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้นเป็นผู้ผ่านการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการพร้อมแจ้งให้ผู้นั้นทราบและรายงานตามแบบรายงานท้ายประกาศนี้ ไปยังคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต.จังหวัด) ภายในห้าวันทำการนับแต่วันประกาศ
ข้อ ๑๔๙ เมื่อนายกองค์การบริหารส่วนตำบลได้รับรายงานตามข้อ 147 (๒) ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ในกรณีที่เห็นควรให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการออกจากราชการ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแสดงความเห็นในแบบรายง