องค์การบริหารส่วนตำบลโชกเหนือ อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์  เต็มที่เต็มใจ รับใช้ประชาชน.........  

 

การประกาศใช้แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566-2570) แก้ไข (ครั้งที่ 2 พ.ศ.2565)



การประกาศใช้แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566-2570) แก้ไข (ครั้งที่ 1 พ.ศ.2565)



การประกาศใช้แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566-2570) เปลี่ยนแปลง (ครั้งที่ 1/2565)



แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566-2570) เพิ่มเติม ครั้งที่ 1/2565



แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566 - 2570) ขององค์การบริหารส่วนตำบลโชกเหนือ



แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561 - 2565) เพิ่มเติมเปลี่ยนแปลง ครั้งที่ 2

 

แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561 - 2565) เพิ่มเติมเปลี่ยนแปลง ครั้งที่ 1

 

แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561 - 2565)

 

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา  วิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) และจุดมุ่งหมายการพัฒนาท้องถิ่น 

วิสัยทัศน์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลโชกเหนือ
 
ชุมชนปลอดสารพิษ ชีวิตมีมาตรฐาน ธรรมาภิบาลเป็นหลัก อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม งามพร้อมวัฒนธรรมไทย
 

1.      ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลโชกเหนือ
  องค์การบริหารส่วนตำบลโชกเหนือได้กำหนดยุทธศาสตร์ ไว้ 6 ยุทธศาสตร์  ดังนี้ 
1.1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
 
1.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 
1.3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
 
1.4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต
 
1.5 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมรายได้ อาชีพ และลดรายจ่าย
 
1.6 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเมือง การบริหารและอำนวยการ
 

พันธกิจการพัฒนา
 
พันธกิจที่ 1  การสร้างระบบบริหารจัดการที่ดี  โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ  การวางแผนพัฒนา  การตรวจสอบ  เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารและการปกครอง
 
พันธกิจที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการเกษตรและการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี  เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
 
พันธกิจที่ 3 การส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ และชุมชนให้เข้มแข็ง  สามารถพึ่งตนเองได้     ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง  
 
พันธกิจที่ 4 การส่งเสริมด้านสาธารณสุข และการกีฬา ตลอดจนอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอันดีงามและภูมิปัญญาของท้องถิ่น
 
พันธกิจที่ 5 การพัฒนาทางด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอันดีงามและภูมิปัญญาของท้องถิ่น
 
พันธกิจที่ 6  การส่งเสริมการพัฒนาทางด้านสังคม และสวัสดิการชุมชน
  พันธกิจที่ ๗  ปรับปรุงและพัฒนาระบบคมนาคม ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการให้ได้มาตรฐาน  มีประสิทธิภาพและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน  เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต 

จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา
 
1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น 
 
2. การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ  ตามแนวธรรมาภิบาล
 
3. จัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม  ให้มีความยั่งยืน
 
4. ประชาชนดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
 
5. ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้า
 
6. ส่งเสริมการศึกษา  อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม  และขนบธรรมเนียมประเพณี 
 
7. ชุมชนมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย  ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
 
8. ผู้ด้อยโอกาส  ผู้สูงอายุได้รับการดูแล
 
9. ระบบสาธารณูปโภค  สาธารณูปการ เพียงพอและทั่วถึง
 
10.การคมนาคมสะดวก         
 
       
2. เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์
 
1.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
 
- เพื่อพัฒนาทางเท้า ท่อระบายน้ำ ไฟฟ้าสาธารณะแหล่งน้ำอุปโภค–บริโภคและเพื่อการเกษตร
           
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                    
- เพื่อสร้างจิตสำนึกและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
 
3.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
                    
- เพื่อส่งเสริมสนับการศึกษาและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามให้สืบอยู่ตลอดไป
 
4.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต
                     
- เพื่อส่งเสริมปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนบนพื้นฐานความเสมอภาค
 
5.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมรายได้ อาชีพ และลดรายจ่าย
                     
- เพื่อส่งเสริมและพัฒนารายได้ประชาชน  และกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็ง
 
6.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเมือง การบริหารและอำนวยการ
                     
- เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการบริหารจัดการ  พัฒนาบุคลากร  ชุมชน  สังคม
          

3. ตัวชี้วัด
           
(1)  ประชาชนมีแหล่งกักเก็บน้ำใช้สำหรับอุปโภค บริโภคและการเกษตรอย่างพอเพียง
           
(2)  ประชาชนในตำบลโชกเหนือมีรายได้เพิ่มขึ้น
 
(3)  โรงเรียนในเขตตำบลโชกเหนือ ได้รับการสนับสนุนอาหารกลางวัน  อาหารเสริมนม
 
(4)  ศพด. 2 แห่ง ได้รับการสนับสนุนอาหารกลางวัน  อาหารเสริมนม  รวมทั้งพัฒนาอาคารสถานที่และ ระบบบริหารจัดการ
            (5)  เด็กและเยาวชนได้ร่วมกิจกรรม 
(6)  ผู้ดูแลเด็กเล็กได้รับการพัฒนาประสิทธิในการปฏิบัติงาน
 
(7)  เด็กเล็กได้มีความรู้ และมีทักษะเพิ่มขึ้น
 
(8)  มีวัสดุ อุปกรณ์  การเรียนการสอนอย่างทั่วถึงและเพียงพอ
 
(9)  อาสาสมัครในการช่วยเหลือชุมชนและประสานงานในชุมชน
 
(10)  ส่งเสริมสวัสดิการสังคม สงเคราะห์ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้สูอายุ
 
(11)  กลุ่มสตรี อสม. ได้ทำกิจกรรม ร่วมกัน  และสร้างความสามัคคี
 
(12)  ประชาชนได้รับการบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง
 
(13)  จัดวางผังเมืองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามมาตรฐาน
 
(14)  ก่อสร้าง ปรับปรุงเส้นทางคมนาคมอย่างทั่วถึง
 
(15)  ประสาน สนับสนุน ร่วมมือกับส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ
 
(16)  ส่งเสริมขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น 
 
(17) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมลานกีฬาชุมชนและจัดการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ
 
(18)  ส่งเสริมการเลือกตั้งตามระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยและตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
 
(19)  การจัดระเบียบโครงสร้างการบริหารจัดการภายในองค์กรให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น
  (20)  ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมการบริหารงาน 
(21)  ส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของประชาชนตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
 
(22)  ส่งเสริมและสนับสนุนการติดตั้งระบบเตือนภัยธรรมชาติ และภัยพิบัติต่าง ๆ
 
(23)  ส่งเสริมการฝึกอบรมอาสาสมัครป้องกันภัยและบรรเทาสาธารณภัยประจำหมู่บ้าน/ตำบลและทีมกู้ชีพกู้ภัยตำบล
 
(24)  สนับสนุนให้มีวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับการป้องกันและการช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติ
 
(25)  เพื่อทัศนียภาพที่สวยงามประชาชนเห็นประโยชน์ของการปลูกป่า
 
(26)  ส่งเสริมสนับสนุนและร่วมมือกับส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนในการรณรงค์สร้างจิตสำนึก เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษและปัญหาสิ่งแวดล้อมของ
 
(27)  การกำจัดขยะ สิ่งปฏิกูลอย่างถูกวิธี
          

4. ค่าเป้าหมาย
 
(1)  มีแหล่งน้ำพอเพียงต่อการอุปโภคบริโภคและทำการเกษตร
 
(2)  การศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐาน และเกิดการเรียนรู้ต่อเนื่อง
 
(3)  ประชาชนมีทักษะในการประกอบอาชีพด้านเกษตร
 
(4)  ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
 
(5)  ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุข มีสุขภาพแข็งแรง
 
(6)  ประชาชนได้ใช้เส้นทางคมนาคมที่มีมาตรฐาน ปลอดภัย
 
(7)  ประชาชนได้ร่วมกิจกรรมส่งเสริมประเพณี วัฒนธรรม การท่องเที่ยว  กีฬาและนันทนาการของท้องถิ่น
           
(8)  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาธรรมาภิบาลดีขึ้น
 
(9)  ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
 
(10)  สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติได้รับการฟื้นฟูและอนุรักษ์
               

5. กลยุทธ์
 
5.1  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
                    
5.1.1  ปรับปรุงสภาพถนน สะพาน ทางเท้า ท่อระบายน้ำ ให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้
                    
5.1.2  ปรับปรุงแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคและเพื่อการเกษตร
                    
5.1.3  ปรับปรุงไฟฟ้าสาธารณะให้ครอบคลุมและทั่วถึง
                     
5.1.4  ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ
 

5.2  ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                    
5.2.1  สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้แก่ชุมชนและ
สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วม                
5.2.2  ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ยืนต้น ไม้ดอก ไม้ประดับ ในที่สาธารณะ
                    
5.2.3  จัดให้มีระบบกำจัดขยะมูลฝอย ที่ถูกสุขลักษณะ
 

5.3  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
                    
5.1.1  ส่งเสริมการศึกษาในชุมชน
                    
5.3.1  สนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชนปรับปรุงหลักสูตร
 การศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน                    
5.3.3  ส่งเสริมพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
                    
5.3.4  ส่งเสริมและอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณี
 

5.4  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต
 
5.4.1  แนวทางการพัฒนาเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของ ประชาชนได้มีชีวิตและความเป็น
5.4.2  ส่งเสริมชุมชนท้องถิ่นป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยที่อาจเกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือตนเองได้   
        
5.5  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมรายได้ อาชีพ และลดรายจ่าย
                    
5.5.1  ส่งเสริมอาชีพและพัฒนารายได้ประชาชน สนับสนุนเงินและการรวมกลุ่มอาชีพ
ที่เข้มแข็ง                    
5.5.2  ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
                    
5.5.3  พัฒนาชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลางการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าทางการเกษตร
 

5.6  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเมือง การบริหารและอำนวยการ
 
5.6.1  ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ การปกครองระบอบประชาธิปไตยและการปกครอง ท้องถิ่นให้ประชาชนทราบโดยทั่วถึงกัน
5.6.2  พัฒนาประสิทธิภาพของหน่วยงานและบุคลากร                    
5.6.3  ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการของ อบต.
                    
5.6.4  ปรับปรุงและพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ในการปฏิบัติงาน
                    
5.6.5  ปรับปรุงพัฒนาระบบการบริหารและการอำนวยการ
 

6.  จุดยืนทางยุทธศาสตร์
 
(1)  การพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่มีความเข้มแข็ง โดยได้รับบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนและเศรษฐกิจ
 
(2)  การพัฒนาระบบการศึกษาและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

 
 
 
 
 
 
 
 


วัน พฤหัสบดี ที่ 10 ตุลาคม 2567

สาระดีๆจากศาลปกครอง
ภายนอก
ภายใน
การไม่รับของขวัญ_page-0001
banner-16977
banner-16974
banner-16972
banner-16971
banner-16970
banner-16969
banner-16967
webmail
banner-16965
LOGO

องค์การบริหารส่วนตำบลโชกเหนือ

LIVE CHAT ติดต่อเจ้าหน้าที่
เริ่มแชท